วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของไลโคปีน ใน Ricebran and Germ Oil Plus

ไลโคปีน (Lycopene) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคำว่า lycopersicum ซึ่งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ บ่งบอกสปีชีส์ของมะเขือเทศ (Solanum lycopersicum) ไลโคปีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด ละลายได้ดีในไขมันเช่นเดียวกับเบต้าแคโรทีน มีรงควัตถุ (pigment) สีแดง พบได้ทั่วไปในมะเขือเทศสุก ฝรั่ง (pink guava) แตงโม ส้ม มะละกอ แครอท ส้มโอสีชมพู ฟักข้าว (หรือ Gac furit มีสารไลโคปีน มากกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า) และในผักผลไม้สีแดงต่างๆ (ยกเว้นสตรอเบอร์รี่และเชอร์รี่) แต่ไม่พบในสัตว์


    ไลโคปีนที่พบมี โครงสร้างทางเคมี 2 แบบคือ trans – configuration และแบบ cis-isomer โดยในธรรมชาติจะพบไลโคปีนแบบ trans – configuration แต่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบ cis-isomer ได้เมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือและสว่าง โดยในกระแสเลือดของคนเราพบไลโคปีนแบบ cis-isomer อยู่ถึง 60% เลยทีเดียว
      ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ไลโคปีนเองได้ ดังนั้นเราจึงต้องรับประทานไลโคปีนเข้าไปจากผักผลไม้ หรืออาหารเสริม โดยไลโคปีนจะไปกระจายอยู่ทั่วไปในเนื่อเยื่อบริเวณที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่พบการสะสมของไลโคปีนมากที่ต่อมหมวกไต ลูกอัณฑะ และตับ จากการศึกษาวิจัยพบว่าไลโคปีนที่ผ่านกระบวนการใช้ความร้อน (heat processed-lycopene) เช่น การปรุงอาหาร ร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าไลโคปีนในธรรมชาติ เนื่องจากไลโคปีนที่มีโครงสร้างแบบ cis -isomer ถูกดูดซึมได้ดีกว่าแบบ trans – configuration และแบบ cis -isomer จะสามารถละลายและรวมตัวกับกรดน้ำดี (bile acid micells) ได้ดีกว่า แบบ trans – configuration ด้วย นอกจากนั้น การใช้ความร้อนในการประกอบอาหารยังทำให้ไลโคปีนที่อยู่ในผนังเซลล์ของผักและ ผลไม้ละลายออกได้มากขึ้น ทำให้ดูดซึมในระบบย่อยอาหารได้ดีกว่ารับประทานแบบสดถึง 2.5 เท่า ดังนั้นหากจะรับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับไลโคปีน จึงควรนำผักและผลไม้ไปปรุงให้สุกก่อน
      มีผลการวิจัยทางการแพทย์ที่ระบุว่าเมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณของไลโคปีนในร่างกายจะลดลง ส่งผลให้โอกาสในการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก




      เนื่องจากไลโคปีนเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ที่มีความแรงมาก และมีส่วนสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญคือเข้าไปจับกับอนุมูลอิสระ (Free radical) ในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการทำลายสายดีเอ็นเอ อันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ไลโคปีนจะช่วยลดการก่อกลายพันธุ์ ทำให้สามารถยับยั้งวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็งในช่วงต้น (ระยะ G1) และลดการเกิดเนื้องอกได้ เมื่อเทียบกับสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดอื่นๆ ไลโคปีนเป็นแคโรทีนอยด์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากมีโครงสร้างที่ต่อกันเป็นสายยาวกว่า ดังรายงานการศึกษาเปรียบเทียบผลในการต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง พบว่าไลโคปีนมีฤทธิ์ที่ดีกว่าเบต้าแคโรทีนและแอลฟาโทโคฟีรอลถึง 2 และ 10 เท่าตามลำดับ มีความเชื่อว่าไลโคปีนสามารถปรับระบบฮอร์โมนและภูมิคุ้มกัน ตลอดจนเมตาบอลิซึมในร่างกายได้ นอกจากนี้การรับประทานไลโคปีนในปริมาณสูงยังช่วยยับยั้งเอนไซม์สำคัญที่ใช้ สังเคราะห์โคเลสเตอรอล และเร่งสลายโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดีหรือ LDL (Low density lipoprotein) ที่มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้อีกด้วย
       ร่างกายของคนเราควรได้รับปริมาณไลโคปีน อย่างน้อย 6.5 มก.ต่อวัน ซึ่งเทียบได้กับการทานมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบในอาหาร 10 ครั้งต่อสัปดาห์ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าการได้รับไลโคปีนมากเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

      ไลโคปีน  12.70 มก. มีอยู่ใน ผลิตภัณฑ์ Ricebran and Germ Oil Plus


ผลิตภัณฑ์ Ricebran and Germ Oil Plus กำลังได้รับความนิยมที่สุดในขณะนี้
ปริมาณและราคา 1 กล่องบรรจุ 60 แคปซูล ราคา 1,260 บาท
ดูข้อมูลที่   http://ricebranmir.blogspot.com
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ วีระชัย  ทองสา    โทร.084-6822645 , 085-0250423
ID Line : weerachaicoffee

อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com

      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น